[article] ภัยร้ายวัยทำงาน อันตราย กับ ออฟฟิศซินโดรม

 
 
 
อย่าวางใจ...“ออฟฟิศซินโดรม”
เรื่องเล็กๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่

 
       พนักงานออฟฟิศในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง รองลงมามีอาการปวดบริเวณคอ ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับประกอบกับความเร่งรีบของสังคมเมืองและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี พนักงานออฟฟิศมักชอบทำงานกับคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นประจำ แถมยังต้องแข่งขันในเรื่องของการทำงานกันมากขึ้น หลายคนต้องทำงานหนักเพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งเมื่อทำงานหนักมากขึ้นอาจส่งผลให้เป็น “โรคติดงาน (Workaholic)” หรือ “โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่า “โรคบ้างาน” นั่นเอง
 
ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)
 
       เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ อาทิ หลัง  ไหล่  บ่า แขน หรือข้อมือ 

       ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยว
ข้องกับงานกายภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่  หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น 
      


 
       ไม่ใช่เพียงแต่อิริยาบถของคนทำงานที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น!! สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญด้วย ทั้งโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกดแป้นคีย์บอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ จะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น

       รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือ และด้วยสภาพการทำงานที่ต้องรีบเร่ง ล้วนมีส่วนทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป ทั้งการใช้คอมพิวเตอร์วันละหลายๆ ชั่วโมงติดต่อกัน การอดอาหาร อดหลับอดนอนเพื่อให้งานเสร็จ ทำให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียด ปราศจากการผ่อนคลาย 


5 อาการยอดฮิตของโรคออฟฟิศซินโดรม

1. อาการปวดหัวเรื้อรัง - อาการปวดหัวเรื้อรัง หรือบางทีมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สาเหตุเกิดจากความเครียดในการทำงาน หรือการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน แสงบริเวณโต๊ะทำงานไม่เพียงพอ หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อมในวันที่ทำงานที่วุ่นวาย ไม่สงบ อาจจะทำให้คุณเกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว

2. อาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่แบบเรื้อรัง -  หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์นานกว่า 8 ชั่วโมง แล้วมีอาการปวดตึงต้นคอ ปวดบ่า ปวดไหล่อยู่บ่อยๆ หรือบางทีปวดจนหันคอลำบาก เป็นอีก 1 สาเหตุที่สามารถชี้ได้ว่าคุณกำลังเป็๋นโรคออฟฟิศซินโดรม

3. อาการปวดหลัง -  สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ทั้งวัน หรือเป็นงานที่ต้องยืนนาน ๆอาการของการปวดหลังนั้นเป็นอาการที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

4. ปวดแขน มือชา นิ้วล็อค - สาเหตุของอาการนี้เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ ซึ่งมาจากการที่เราใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ในการจับเมาส์ พิมพ์เอกสารในท่าเดิมๆเป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทจนเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นจึงเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้


5. อาการปวด ตึงที่ขา หรือเหน็บชา
อาการเหน็บชาบ่อย หรือขาไม่มีแรง อาการเหล่านี้เกิดจากการนั่งทำงานนาน ๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติจึงเกิดอาการเหน็บชาได้ง่าย หากมีอาการแต่ไม่รีบรักษาปล่อยไว้ในระยะเวลานาน อาจเกิดอาการชาลามไปถึงเท้าและขาไร้เรี่ยวแรง 
 
3 ระดับอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
 

แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

- การรักษาด้วยยา
 
- การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
 
- การปรับสถานที่ในการทำงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
 
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม
 
- การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย


       การรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีต่าง ๆ นั้นเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบหรือรักษาพังผืดในกล้ามเนื้อ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจากออฟฟิศซินโดรมจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

       การปรับอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะมาบั่นทอนคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร





 
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles