[article] 7 ชนิดอาหารดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่น และ 7 ร้านอาหารอิมพอร์ตจากญี่ปุ่นแท้

 
 
 
ในประเทศไทย… อาหารที่เรียกว่าฮิตสุดๆไปเลย! คงต้องเป็นอาหารญี่ปุ่น
ที่มีทั้งความหลากหลายยย วิจิตร คัดสรร…
และปัจจุบันมีการดัดแปลงเพื่อให้ถูกปากคนไทยมากยิ่งขึ้นๆ ยิ่งขึ้น ๆ …ยิ่งขึ้นๆๆ…
จน! สงสัยว่า จริงๆแล้วเมนูอะไรที่เป็นเมนูพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน
 
และทราบจากเพื่อนชาวญี่ปุ่นมาว่า คนญี่ปุ่นเองก็ชอบออกมาทานข้าวนอกบ้านกันบ่อยๆ
…อาหารบางชนิดที่คนไทยคุ้นเคยกัน ทำกินเองบ้างก็มี ออกมาทานนอกบ้านก็ด้วย
แต่คนญี่ปุ่นนั้นก็จะมีโอกาสหรือวาระพิเศษออกมาทานนอกบ้านด้วยกัน
ซึ่งร้านที่คนญี่ปุ่นเลือกนั้นต้องมีความเป็นออริจินัลค่ะ
มักเลือกร้านที่เก่าแก่และปรุงด้วยความสามารถพิเศษเฉพาะตัวของพ่อครัวเอง เรียกว่า โชคุนิน
…ซึ่งบางเมนูคนไทยเราก็นึกไม่ถึงหรอกค่ะว่าเค้าจะละเอียดละออกันได้ขนาดนี้
เยอะสิ่งแบบที่อยากจะวิ่งไปหยิบอาหารญี่ปุ่นสำเร็จรูปในช่องฟรีทไปคว้างทิ้งซะ ให้ตายเถอะ
 
ก็เลยได้ศึกษาหาข้อมูล และคว้นฟ้าๆๆ อยู่พักนึง
ก็อยากรู้ต่อว่าแล้วมีร้านออริจินัลจากญี่ปุ่นที่บินลัดฟ้ามาเปิดสาขาที่ไทยนั้นมีที่ไหนบ้างหว่า ?
ทึกทักเอาเองว่ามีไม่มากเท่าไหร่ …

** ไม่ได้บอกว่าแบรนด์ของไทยเองไม่ดีนะคะ
ของญี่ปุ่นเค้าจะมีการจัดการและมีธรรมเนียมฉบับญี่ปุ่นที่แตกต่างให้น่าศึกษาอยู่
เราก็จะสังเกตเวลาเราไปเยือนร้านเค้าค่ะ
 


พอสืบๆดูก็ขอนำข้อมูลมาแปะร่วมด้วยเลย เป็นตัวอย่างร้านญี่ปุ่นในประเภทอาหารนั้นๆ
…ซึ่งจริงๆ ยังมีอีกหลายร้านที่เป็นญี่ปุ่นแท้นะก้ะ
 
Cr. เนื้อหาประกอบ 
https://th.sushiandsake.net/special
www.jnto.or.th
 
 
1.ซูชิ Sushi 寿司
(และซาชิมิ Sashimi) 
 
 
 
 
ประวัติของซูชิ
  • กำเมื่อราวค.ศ. 700-800 ว่ากันว่าถูกนำมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แพร่กระจายไปยังประเทศจีนก่อนที่จะถึงญี่ปุ่น
  • เชื่อว่ามาจากการหมักปลากับเกลือของปลาส้มบ้านเราในแถบอีสาน ลาว และจีนตอนใต้
  • ในวรรณคดีญี่ปุ่น คำว่า 'ซูชิ' ถูกใช้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า โยโรริวที่มีออกมาให้เห็นในปีค.ศ. 718
  • แต่ซูชิในช่วงเวลาดังกล่าวถูกเรียกว่า "นาเระซูชิ" ที่มีการเก็บรักษาไว้โดยการหมักอาหารทะเลและข้าวในเกลือเป็นระยะเวลานาน เป็นรายการอาหารที่มีรสชาติและรูปร่างที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากนิงิริ ซูชิในปัจจุบัน
  • ฟุนะซูชิ (ปลาไน) จะรับประทานกันในจังหวัดชิงะที่กล่าวกันว่าเป็นนาเระซูชิที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นที่ยังคงมีอยู่ 
  • ปีค.ศ. 1820 ปลาดิบถูกคิดค้นโดยเชฟชื่อ Hanaya Yohei ในโตเกียวในยุคหนึ่งที่เรียกว่าสมัยเอโดะ (ปีค.ศ. 1603-1868)
  • แม้ว่าในปัจจุบันปลาดิบจะเป็นอาหารที่หรูหรามาก ในขณะเดียวกันมีการขายซูชิจากรถเข็นอาหารและเป็นอาหารราคาถูกและรวดเร็วสำหรับคนทั่วไป
  • ส่วนใหญ่นิงิริ ซูชิจะขายในโตเกียวและจากนั้นแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นพร้อมมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยขึ้นเช่นตู้เย็น
  • ในปีค.ศ. 1958 ร้านอาหารประเภทกึ่งบริการตัวเองที่ที่เรียกว่า ไคเท็น ซูชิ ทำในลักษณะที่ลูกค้ามีอิสระในการหยิบซูชิที่วางอยู่บนสายพานหมุน ตั้งแต่ปลาดิบมีให้บริการในราคาที่ถูกกว่าร้านซูชิที่จะเสิร์ฟซูชิให้ลูกค้าที่เคาน์เตอร์ ไคเท็น ซูชิได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากผู้คนทั่วไป ปัจจุบันร้านอาหารดังกล่าวมีอยู่ทั่วญี่ปุ่น
  • นอกจากนี้เมื่อซูชิได้ถูกแนะนำว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไขมันต่ำ มีคอเลสเตอรอลต่ำในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ในปีค.ศ. 1977 ซูชิบาร์เริ่มทยอยเปิดตัวขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซูชิกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา ชนิดซูชิที่เป็นที่นิยมจะทำด้วยอะโวคาโดและแคลิฟอร์เนียโรลที่ทำด้วยชีสและมายองเนส ดังนั้นซูชิจึงกลายเป็นที่รู้จักในฐานะอาหารญี่ปุ่นที่รับประทานกันทั่วโลก
 
ร้านที่ 1
> Ginza Suchi-ichi <
เริ่มต้นด้วยร้านมิชลินสตาร์ 1 ดาวจากกรุงโตเกียว วาร์ปมาเปิดร้านที่กรุงเทพฯ ณ โรงแรมเอราวัณ
ซึ่งร้านนี้จะมีเชฟใหญ่ Masakazu Ishibachi เป็นผู้ชำนาญการทำซูชิมาอย่างยาวววน๊านนน
และจะดูแลการันตีฝีมือเชฟที่คอยให้บริการลูกค้าในแต่ละวัน


ความพิเศษคือวัตถุดิบ สำหรับร้านนี้แล้วจะต้องนำเข้าอาหารสดจากตลาด Tsukiji
ที่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงมาทำเมนูให้เราทานในแต่ละคำ ดังนั้นใครที่ใส่ใจเรื่องคุณภาพละก็ ร้านนี้เค้าการันตี


จะบอกว่าถ้าจะไปทานเนี่ยต้องจองล่วงหน้านะคะ




บรรยากาศร้านโดยรวมค่อนข้างเรียบง่าย อบอุ่น สไตล์ไม้ญี่ปุ่น แสงสีเหลือง เจริญอาหาร


 
Cr. รูปภาพและข้อมูล www.facebook.com/pg/ginzasushiichiBKK
 
 *************************
 
2. ทงคัตสึ Tonkatsu とんかつ
 
  • รากศัพท์ของคำว่า ทงคัตสึ ได้มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า Cotolette (เนื้อซี่โครงของลูกวัว แกะ หรือหมู) ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Cutlet และถูกนำมาใช้เรียกในแบบของญี่ปุ่นว่า “คัทสึเร็ทสึ (Katsuretsu)”
  • ปลายศตวรรษที่ 19 อาหารตะวันตก อย่างเช่น คัทสึเร็ทสึเนื้อ และ ไก่ ได้เริ่มแทรกซึมเข้าไปตามเมนูของร้านอาหารในญี่ปุ่น
  • หลังจากนั้นราวปีค.ศ.1895 ร้านอาหารตะวันตกแห่งหนึ่งใน กินซะ (Ginza) โตเกียว (Tokyo) ได้เริ่มขายเมนู คัทสึเร็ทสึหมู
  • ความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และราวปีค.ศ.1930 แถวย่านอุเอโนะ (Ueno) และอะซะคุสะ (Asakusa) ในโตเกียว เริ่มใช้เนื้อหมูชิ้นหนาในการทำคัทสึเร็ทสึ จึงได้ชื่อว่า ทงคัทสึ (Tonkatsu) ตั้งแต่นั้นมา
  • ชาวญี่ปุ่นที่เชื่อในเรื่องโชคลาง ก่อนที่จะทำการทดสอบหรือแข่งขันกีฬา จะมีธรรมเนียมในการทานทงคัทสึ เนื่องจากคำว่า “คัทสึ (katsu)” ในทงคัทสึ มีความหมายว่า “ชัยชนะ” นั่นเอง อยากให้ทุกคนลองทานทงคัทสึ และอธิษฐานขอชัยชนะก่อนที่จะทำการแข่งขันใดๆก็ตาม
 
ร้านที่ 2
> Tonkatsu Maisen <




ทงคัตสึไมเซน คือ ร้านอาหารประเภททงคัตสึ หรือ หมูชุบแป้งทอด
ที่มีประวัติอันยาวนานกว่า 50 ปี และเป็นหนึ่งในผู้นำความเชี่ยวชาญการปรุงเมนูอาหารประเภททงคัตสึ
ที่ได้รับความนิยมจากคนญี่ปุ่นทั่วประเทศ   โดยได้รับการขนานนามว่าเป็น “ทงคัตสึที่อร่อย..นุ่ม จนใช้ตะเกียบตัดได้” 

ซึ่งมีจุดเด่น 3 ประการที่สามารถมัดใจผู้บริโภคได้มาอย่างยาวนาน คือ
1. ความนุ่มและรสชาติเกินบรรยายของทงคัตสึ  
            ทงคัตสึทุกชิ้นที่ไมเซน  ได้รับการคัดเลือกเฉพาะชิ้นหมูจากสายพันธ์หมูชั้นดี  
และบรรจงตัดทุกเส้นเอ็นทั้งหมดออก 
เพื่อป้องกันการทำให้รสสัมผัสของหมูเปลี่ยนแปลง  
พิสูจน์ความนุ่มของทงคัตสึไมเซนได้ด้วยการใช้เพียงปลายตะเกียบตัด.....

2. เกล็ดขนมปัง..ที่ไมเซน
            เกล็ดขนมปังทุกเกล็ดที่ไมเซน  ผลิตจากขนมปังที่อบด้วยสูตรเฉพาะ  
และมีขนาดรูปร่างของเกล็ดขนมปังตามมาตรฐานเอกลักษณ์ของไมเซน 
ผสมผสานกับเทคนิคพิเศษในการชุบเกล็ดขนมปัง

3. ซอสไมเซน
            ซอส   ไมเซนได้เตรียมซอสหลากหลายสูตร เพื่อความอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเมนู 
ร้านจะมีการทดลองนำผักผลไม้สดใหม่มากมายมาทำซอสสูตรเฉพาะ
เป็นความภาคภูมิใจของผู้ก่อตั้งไมเซน ที่สืบทอดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965

**ขนมปังพอกเก็ตก็อร่อยเลื่องชื่อมากกค่ะเจ้านี้**

ตอนนี้ทางร้านมีหลายสาขา ได้แก่
สีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น B / พารากอน ชั้น G / เซนทรัล เอมบาสซี่ ชั้น 5 / เจ อเวนิว ชั้น 2
สยามสแควร์วัน ชั้น 5 / Future Park รังสิต ชั้น B / Central World ชั้น 7
Emquartier Helix ชั้น 8 และสาขาล่าสุดคือ Mega Bangna
Cr. www.facebook.com/MaisenThailand
 
 *************************
 
3.เทมปุระ Tempura 天ぷら
 
 
  • ต้นกำเนิดของเทมปุระเกิดขึ้นในสมัยเอโดะ (ปีค.ศ. 1603-1868)
  • แรกเริ่มเดิมทีมาจากนอกประเทศญี่ปุ่น
  • เชื่อว่าเทมปุระนั้นเกิดขึ้นบนรถเข็นอาหาร เพราะว่าเมื่อมีการกระจายอาหารซึ่งเกิดขึ้นเป็นวงกว้างในช่วงสมัยเอโดะ อาหารจากส่วนอื่น ๆ ของญี่ปุ่นได้มารวมตัวกันในเอโดะ (ชื่อเดิมของโตเกียว) จึงเป็นเหตุให้น้ำมันถูกใช้เป็นวัสดุชั้นดี กลายมาเป็นว่าเข้าถึงได้ง่ายสำหรับคนทั่วไป
  • หลังจากนั้น เทมปุระจึงกลายมาเป็นสิ่งที่ดูธรรมดามากขึ้นและกระจายไปทั่วทั้งญี่ปุ่น
  • ร้านอาหารที่ชำนาญเรื่องเทมปุระนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยเอโดะ พร้อม ๆ กับการที่เทมปุระได้ถูกจัดเป็นอาหารชั้นสูง มากกว่าที่จะเป็นอาหารสำหรับคนทั่วไป
  • มีทฤษฎีที่หลากหลายว่าชื่อของเทมปุระนั้นมาจากไหน ทฤษฎีหนึ่งได้กล่าวว่าชื่อเทมปุระนั้นเป็นคำที่ถูกแนะนำโดยชาวโปรตุเกสที่เข้ามายังเมืองนางาซากิ
 
ร้านที่ 3
> Ginza Hageten <


ต้นตำหรับเทมปุระ 80ปี จากญี่ปุ่น ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศทั้งหมด 23 สาขาในชื่อเดียวกัน
เชฟมีความชำนิชำนาญ ในร้านมีโซน Open ทำสดให้เราดูด้วยค่ะ



เมนูดังก็ต้อง Hageten Set เน้นกุ้ง 2 ผัก 3 ปลาและหอย 2 สลัดผัก ไข้ตุ๋น ข้าว
ซุปมิโซะ ผักดอง ตบด้วยไอศกรีมชาเขียว




ร้านไม้สีอ่อน สไตล์ญี่ปุ่นแท้ อยู่ที่เซนทรัลเวิร์ล โซนอิเซตันชั้น 6 ค่ะ


Cr. www.facebook.com/pg/hagetenthailand
  
*************************

 
 
4.ไคเซกิ Kaiseiki ryori 懐石料理
 
  • ไคเซกิ หรือ ไคเซกิ เรียวริ เป็นชุดอาหารที่บริการทีละคอร์ส อย่างเป็นลำดับตามธรรมเนียมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงความพิถีพิถันในคัดเลือกวัตถุดิบตามฤดูกาล การปรุงแต่ง และกรรมวิธีที่ใช้ในการปรุง จนกระทั่งการนำเสนออาหาร ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับอาหารยุโรปชั้นสูง หรือ "โอต กวีซีน" (Haute Cuisine) ของชาติตะวันตก
  • ชุดอาหารไคเซกิ ประกอบไปด้วยสองความหมาย โดย ไคเซกิ (会席) และ ไคเซกิ เรียวริ (会席料理) หมายถึงอาหารชุดหรือเซ็ตเมนูที่คัดเลือกรายการอาหารไว้แล้ว และให้บริการทีละอย่าง (คนละ 1 จานจนครบทุกคอร์ส) ลงบนถาดส่วนตัว
  • อีกหนึ่งความหมายนั้นเขียนตามภาษาญี่ปุ่นว่า 懐石 หรือ 懐石料理 หมายถึง อาหารอย่างง่ายที่เจ้าภาพของพิธีชงชาจัดให้บริการแขกก่อนพิธีการชงชาจะเริ่มขึ้น ซึ่งมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชะ-ไคเซกิ
  • ในปัจจุบัน "ไคเซกิ" ถือเป็นศิลปะที่ผสมผสานกันในรสชาด รูปลักษณ์ ผิวสัมผัส และสีสันได้อย่างลงตัว จึงใช้สร้างสรรค์จากวัตถุดิบชั้นเยี่ยม ที่มีความสดใหม่ ซึ่งหาได้เฉพาะในฤดูกาลเพื่อใช้ปรุงแต่งขึ้นเป็นอาหารรสชาดอร่อยอย่างลงตัว
  • การจัดวางและนำเสนอมักจะทำอย่างระมัดระวัง และคำนึงถึงสีสันและน้ำหนัก เพื่อให้เกิดความสมดุลในการนำเสนอให้เป็นศิลปะอย่างสอดรับกับไคเซกิที่ประกอบขึ้นในฤดูกาลนั้น ๆ
  • ไคเซกิประกอบด้วยมิโซซุป และอาหารเคียงสามอย่าง ซึ่งได้กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการบริการอาหารญี่ปุ่นในปัจจุบัน ซึ่งโดยจะเรียกเป็น "อาหารเซ็ต" จากนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นมาโดยรวมถึงอาหารเรียกน้ำย่อย, ปลาดิบ (ซาชิมิ), ของต้ม, ของย่าง, และของนึ่ง นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงอาหารพิเศษอื่น ๆ ที่เชฟจัดสรรค์ให้
 
ร้านที่ 4
> Umenohana <


อุเมะโนะฮานะ มีความหมายว่า “ดอกบ๊วย”
ย้อนกลับไปเมื่อปีกว่า 40 ปีที่แล้ว เริ่มแรกเปิดร้านที่ “คานิชิเกะ” ที่เมืองคุรุเมะ จังหวัดฟุุกุโอกะ



ซึ่่งเป็นร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจากการนำเสนอการปรุงเมนูปู
10 ปีต่อมาจึงเปิดร้านอุเมะโนะฮานะ มีชื่อเสียงด้านเป็นผู้เชี่ยวชาญการสร้างสรรค์เมนูอาหารแบบต้นตำหรับ
และขยายสาขาไปอีก 70 สาขาทั่วญี่ปุ่น

อุเมะโนะฮานะ  คือ ร้านอาหารแบบไคเซกิดั้งเดิม
การรับประทานอาหารไม่ใช่สำหรับแค่ช่วยดับกระหายแต่เติมเต็มคุณค่าทางจิตใจ

ที่ใส่ใจทุกรายละเอียดตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ
การจัดวางอาหารอย่างมีศิลปะ  การเสิร์ฟอาหารทีละจานแบบไคเซกิเพื่อรสชาติที่สดใหม่

รวมจนถึงการเลือกใช้ภาชนะ และการตกแต่งร้านแบบญี่ปุ่นด้วย วัสดุชั้นดี
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการบริการด้วยหัวใจจากพนักงานทุกคนที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเข้มงวด
นี้คือ คำามั่นสัญญาจากดอกบ๊วย


บรรยากาศร้านอบอวลไปด้วยกลิ่นไอวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นแท้
มีการธรรมเนียมปฏิบัติที่ฝึกฝนมาอย่างเคร่งครัด เหนือความคาดหมายกับการบริการสุด ๆ ค่ะ


**ร้านนี้เด่นเรื่องเต้าหู้มากค่ะ ถึงกับมีโรงงานผลิตของตัวเอง ทำให้รสชาติไม่เหมือนที่อื่น
และยังรักษามาตรฐานเหมือนกับที่ญี่ปุ่นไว้ได้ค่ะ**

ร้านตั้งอยู่ที่ Nihonmaru mall ทองหล่อ 13
 
*************************

 
5. ยากิโทริ Yakitori 焼き鳥
 
  • รูปแบบการทำอาหารแบบไก่เสียบไม้โดยการตัดให้เป็นชิ้นพอดีคำเช่นในรูปแบบปัจจุบันมีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษณ์ที่ 17
  • ร้านรถเข็นยากิโทริมีปรากฏให้เห็นประมาณปีค.ศ. 1900 เนื่องจากไก่มีราคาแพงในตอนนั้น เนื้อชิ้นเล็กที่ไม่ได้ใช้ในร้านอาหารได้นำมาใช้และเสิร์ฟ
  • ยากิโทริเป็นอาหารที่สะท้อนถึงความรู้สึกเสียดายของที่ลักษณะเฉพาะของชาวญี่ปุ่นที่ไม่ชอบทิ้งของ ซึ่งมีการอภิปรายกันในฝั่งตะวันตกในหลายปีที่ผ่านมา
  • ในปีค.ศ. 1923 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มีศูนย์กลายที่กรุงโตเกียวส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่น และไก่กลายเป็นสิ่งที่หายาก ด้วยเหตุนั้นไก่จึงเป็นของที่มีราคาแพงมาก และทำให้มีร้านอาหารเฉพาะชั้นสูงเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ 
  • หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยากิโทริเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่าเป็นอาหารสำหรับผู้คนทั่วไป ตั้งแต่วิธีการปรุงไก่ที่เรียกว่าเครื่องปิ้งย่างที่นำมาจากสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 60
  • ร้านยากิโทริสำหรับคนทั่วไปยังคงเป็นร้านเหล้าไสตล์ญี่ปุ่นที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
  • ยากิโทริกลายเป็นที่นิยมทั่วญี่ปุ่นที่รู้กันว่าเป็นอาหารที่เป็นตัวแทนความอร่อยและไม่แพง
  • แต่ในหลายปีที่ผ่านมา ยากิโทริที่ใช้ไก่คุณภาพสูงและจัดการอย่างสมบูรณ์ กลายเป็นที่นิยม 
 
ร้านที่ 5
> Nagiya <



นากิยะ เป็นร้านสไตล์ Izakaya ที่เป็นสไตล์นั่งชิลกินอาหารเคล้าเสียงหัวเราะ
แบบหนุ่มสาวออฟฟิศนัดมากินเลี้ยงหลังเลิกงาน หรือแวะมากับเพื่อนฝูง

เมนูเด็ดของร้าน Nagiya ที่ขึ้นชื่อก็คือ Nabe หรือหม้อไฟ
แต่หากว่ามาที่ร้านสไตล์ Izakaya ก็คงจะต้องพูดถึงอาหารปิ้งย่างเสียบไม้แบบญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า ยากิโทริ

ซึ่งที่ร้านมีให้เลือกหลากหลายอย่าง ทัั้งปีกไก่ย่าง กระบังลมวัวหั่นฝอยย่าง เบคอนห่อชีสย่าง ลิ้นย่าง ไก่และต้นหอมย่าง
สิ่งมาทานแกล้มกับเครื่องดื่มสัญชาติญี่ปุ่นหลากหลายชนิดที่พร้อมเสิร์ฟ ทานอร่อยเข้ากันได้เป็นอย่างดี


ตอนนี้มีสาขาที่ นิฮอนมาชิ / ทองหล่อ / เกตเวย์เอกมัย

 
Cr. www.BKKMENU.com
Cr. http://bk.asia-city.com/restaurants/bangkok-restaurant-reviews/tenkaichi-yakiton-yakitori-nagiya
 
*************************

 
6. อูด้ง Udon うどん
 
  • กล่าวกันว่าอูด้งถูกนำมาจากประเทศจีนในสมัยโบราณ
  • ขนมแป้งสาลีชนิดหนึ่งที่สอดไส้ถั่วแดงรสหวานที่เรียกว่า "คอนต้ง" ถูกนำมาจากประเทศจีนในช่วงสมัยนาระ (ปีค.ศ. 710-794) คนทั่วไปจะใส่ "คอนต้ง" ในน้ำซุปร้อนและเรียกว่า "อ็อนต้ง" ซึ่งท้ายที่สุดก็กลายเป็น "อุนต้ง" และ "อูด้ง" ตามที่เราเรียกในปัจจุบัน
  • จากสมัยมูโรมาจิ (ปีค.ศ. 1392-1573) คอนต้งได้กลายเป็นสิ่งที่เรารู้จักกันในปัจจุบันว่าอูด้ง จากการจัดจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ที่เพิ่มมากขึ้นในสมัยเอโดะ (ปีค.ศ. 1603-1868)
  • อูด้งกลายเป็นอาหารยอดนิยมในหมู่คนทั่วไป ปัจจุบันซุปอุด้งส่วนใหญ่จะปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลือง แต่เมื่อซุปชนิดนี้กลายเป็นที่นิยม ส่วนใหญ่อูด้งจะถูกปรุงรสด้วยมิโซะเหมือน "มิโซนิโคมิ อูด้ง" ในปัจจุบัน (อุด้งที่ปรุงสุกในน้ำซุปมิโซเข้มข้น)
 
ร้านที่ 6
> Marugame Seimen <


ร้านอุด้งจากเมืองซานุกิ จังหวัดคากาวะ และมีสาขามากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
จุดเด่นของที่นี่คือเป็นร้านอุด้งที่คุณจะต้องบริการตนเอง

และเส้นซานุกิอุด้งซึ่งเป็นอุด้งเส้นเหลี่ยมเนื้อขาวเนียนเหนี่ยวหนึบ

โดยเส้นจะมีอายุของเส้นอยู่ที่ 20 นาที เพราะว่าถ้าเกิน 20 นาทีไปแล้วจะทำให้เส้นอูด้งไม่อร่อยตามสูตร

ส่วนแป้งที่นำมาทำอูด้งก็จะมีอยู่หลายแบบตามแต่ละเมนูที่ลูกค้าสั่ง ซึ่งทุกขั้นตอนเราจะเป็นคนเลือกทั้งหมด
ส่วนเครื่องปรุงสามารถเติมได้ไม่อั้นเลยทีเดียว ทั้งซอส ทั้งสาหร่าย วาซาบิ และอีกมากมาย

Marugame Seimen มีถึง 23 สาขาในประเทศไทย สาขาแรกที่ Rain Hill สุขุมวิท 49

 
Cr. www.facebook.com/MarugameSeimenTH
 
 *************************
 
7. สุกี้ยากี้ Sukiyaki すき焼き
 
  • แม้จะมีประวัติความเป็นมาไม่นานนัก สุกี้ยากี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงยุคเมจิ (ปีค.ศ. 1868-1912)
  • สุกียากี้มีต้นกำเนิดในช่วงประมาณปลายสมัยเอโดะ ซึ่งช่วงดังกล่าววัวและม้าเป็นสัตว์แรงงานที่สำคัญในประเทศญี่ปุ่นและเชื่อว่าการรับประทานเนื้อม้าและวัวจะทำให้เกิดโชคร้าย ดังนั้นการทานเนื้อสัตว์จึงเป็นสิ่งต้องห้าม
  • ภายหลังเมื่อญี่ปุ่นเปิดท่าเรือ ชาวต่างชาติที่เข้ามาตั้งรกรากใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เช่นโยโกฮามาและโกเบได้เผยแพร่วัฒนธรรมการกินเนื้อ ขยายความต้องการสำหรับเนื้อวัว
  • ในตอนต้น เนื้อวัวถูกนำเข้าจากจีน เกาหลีและสหรัฐอเมริกาเนื่องจากไม่มีอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัวในประเทศญี่ปุ่น ต่อมามีผู้แทนจำหน่ายเนื้อสัตว์จากโกเบเริ่มที่จะส่งเนื้อไปโยโกฮามาและโตเกียว 
  • จากนั้นในสมัยเมจิ คนทั่วไปได้รับอนุญาตให้ทานเนื้อวัวเนื่องจากจักรพรรดิเมจิรับประทานเนื้อวัว
  • กิวนาเบะกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในภูมิภาคคันโต
  • ในขณะที่สุกี้ยากี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในภูมิภาคคันไซ
  • ต่อจากนั้นเนื่องจากผลกระทบของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโต (1 กันยายน ค.ศ. 1923) ร้านอาหารที่จำหน่ายเนื้อวัวหลายแห่งในโตเกียวถูกปิดกิจการลง หลังจากนั้นเป็นต้นมาสุกี้ยากี้จากคันไซถูกนำไปยังคันโตซึ่งจะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบคันโต และสร้างสุกี้ยากี้แบบคันโตขึ้น
  • ชื่อสุกี้ยากี้ว่ามาจากคำว่าสุกี้มิ ซึ่งหมายถึงเนื้อที่ตัดบาง ๆ
 
** ความแตกต่างชัดๆระหว่าง สุกี้และชาบู คือ
น้ำซุปค่ะสุกี้ยากี้จะผสมซอสกลายเป็นสีดำ ส่วนชาบูเป็นน้ำใส
ชาบูจะกินกับน้ำจิ้ม ส่วนสุกี้จะจิ้มไข่ดิบกินด้วยค่ะ
 
ร้านที่ 7
> Nabezo premium <




ร้านนี้มีสาขาที่โตเกียวชื่อ Nabezo ค่ะ เป็นร้านบุฟเฟ่ห์ แต่ที่เมืองไทยสาขา Central Embassy
นำมาเปิดในระดับ Premium ที่คัดสรรย์วัตถุดิบมาอย่างดี เหมาะห้างหรูใจกลางกรุงเทพฯ

มีเนื้อและของทะเลชั้นดีให้เลือก ซึ่งจะมีพนักงานมาคอยดูแลลวกเนื้อบริการเราทุกโต๊ะ ไม่ต้องทำเอง
โดยจะเสิร์ฟเป็นคอร์ส เริ่มจากOmakase Appitizer มี 3 อย่างซึ่งจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวัน

ต่อด้วยชาบูชาบูหรือสุกี้ยากี้ เนื้อหรือของทะเลชั้นเลิศ  1 จาน
มีผักและเครื่องเคียงประมาณ 20 ชนิด ซึ่งรายการผักนี้เติมได้ไม่อั้น พนักงานจะถือจานมาให้เลือกที่โต๊ะ

ตามด้วย Meal ที่เป็นเมนูปรุงตอนจบของชาบูชาบู สุกี้ยากี้ และจบด้วยของหวานให้เลือกอีก 3 ชนิด
 
Cr. www.facebook.com/NabezoPremium
 
7 เมนูครบแล้วนะคะ เป็นเมนูพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นเค้า
(จริงๆยังมีโซบะและชาบูค่ะ แต่ตัดออกเพราะคล้ายคลึงกับอุด้งและสุกี้ที่นำเสนอไปข้างบนนะคะ)

และหลายร้านที่นำเหนอไปก็เด็ดมาก เพราะแต่ละร้านมีต้นแบบโชคุนินที่ฝึกฝนมาอย่างเข้มงวด
ทำให้เป็นศาสตร์และศิลป์ของอาหารชนิดนั้นๆอย่างที่คุณนึกไม่ถึงเลยล่ะค่ะ 
(เช่นตัวอย่างร้านไมเซนทงคัตสึ )

หลังจากนี้ก็จะได้อาหารญี่ปุ่นอย่างมีอรรถรสมากขึ้นอีก!!

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากทางร้านด้วยนะคะ ที่เอื้อต่อการทำรีเซิสเฉพาะกิจครั้งนี้
หวังว่าจะได้ไปแวะทานอาหารสุดยอดญี่ปุ่นแท้อีกค่ะๆๆ

:)
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Varin the tale
นอกจากการทำสิ่งที่ต้องทำ เพื่อตัวเองและตอบแทนคุณผู้มีพระคุณ... เป้าหมายกว้างใหญ่ของทรายสีนั่นคือ การค้นพบและขยายเรื่องราวเอกลักษณ์อันเฉพาะ (Art of culture and talented) ของชาวไทยให้มีความภูมิใจและเด่นชัดในระดับนานาชาติ... Branding ประเทศไทยให้เป็น Land of talented... อย่างน้อยในฐานะคนไทยที่รักในหลวง ติดตามต่อได้ที่ เพจ Run The World

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles