[article] Omotenashi หัวใจบริการของญี่ปุ่น

 
 
 
Omotenashi
หัวใจบริการของญี่ปุ่น

      จากที่เคยเขียนให้ความหมายคำนี้ไว้ก่อนหน้านี้ และมีผู้สนใจสอบถามถึงความหมายที่ลึกซึ้งอยากให้อธิบายเพิ่มลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูแล้ว หลายๆ ที่ก็ให้ความหมายไว้ด้วยคำอธิบายหลายอย่างแต่รวมๆ ทุกที่ก็ให้ความหมายประมาณว่า “หัวใจการให้บริการแบบอบอุ่น”สไตล์ญี่ปุ่น
 
 
     หากจะถามถึงที่มาที่ทำให้คำนี้มีความหมายโด่งดังขึ้นมา ก็จะขอเล่าว่าChristel Takigawa พิธีกรและดาราลูกครึ่งฝรั่งเศสญี่ปุ่นชื่อดัง ซึ่งเป็นพรีเซนเตอร์ของญี่ปุ่น ได้ใช้คำนี้ในการพรีเซนต์ในการแข่งขันเพื่อการเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูร้อนของปี 2020 รอบสุดท้ายที่กรุงบัวโนสไอเรสด้วยเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งสามารถช่วยทำคะแนนให้ประเทศญี่ปุ่นชนะเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงโตเกียวในปี 2020 ได้สำเร็จ .
 
     อะไรที่วัดจากความรู้สึก และความพึงพอใจนั้น คงจับต้องไม่ได้ผู้เขียนขออธิบายความหมายของคำนี้ ในเชิง นามธรรมก่อนหน้านี้เคยบอกแล้วว่า ส่วนงานของการบริการนั้น มีสองส่วนคือ“ส่วนที่เห็นด้วยตา” และ “ส่วนที่สัมผัสได้ด้วยใจ”
 
     และเคยให้ความหมายของคำนี้ไว้ว่า
“ไม่มีข้างหน้า ข้างหลัง” คือบริการจากใจทั้งต่อหน้าและลับหลังเหมือนกันแต่วันนี้ผู้เขียนอยากให้ลองตีความกันดูอีกความหมายนึง “ไม่มี ข้างหน้า”อาจจะหมายถึง บริการแบบ “ไม่มีวันหน้า” “ไม่มีคราวหน้า” อีกแล้ว
 
    One time One meeting เคยได้ยินไหมคะคนเราอาจพบกันแค่ครั้งเดียว ดังนั้น เราควรให้ความทรงจำ และความรู้สึกดีๆ เค้ากลับไป
 
     อธิบายแบบนี้ พอจะทำให้รู้สึกขึ้นมาได้ไหมคะ ว่าการบริการแบบ Omotenashi นั้นให้ความรู้สึก หรือความหมายลึกซึ้งเพียงใดเมื่อเป็นนามธรรม ก็เป็นเรื่องของใจล้วนๆ
 
 
     
การตั้งใจทำงาน กับ “การใช้ใจ” ทำงาน ต่อให้งานออกมาดีเหมือนกัน แต่ความรู้สึกนั้นต่างกันมากๆการตั้งใจทำงาน ไม่ว่าจะเพื่อ คำชม หรือกลัวเจ้านายดุ อยากเลื่อนตำแหน่ง อยากได้ทิป ได้โอที ได้ประเมินคะแนนดีๆ จะให้ความรู้สึกไม่เท่า แค่อยากทำให้ดีที่สุด อยากให้คนที่ได้รับงาน หรือกาiบริการครั้งนี้ ประทับใจที่สุดนั้น โดยไม่สนเรื่องใดๆ ด้านบนนั้น คงให้ความรู้สึกต่างกัน
 
     เร็วๆ นี้ผู้เขียนได้อ่านข่าวบริษัทดังๆ ยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ประกาศยกเลิกตำแหน่งผู้จัดการทั้งหมดโดยหวังให้พนักงานมีสำนึกความเติบโตด้านself-management ซึ่งเป็นองค์กรแบบที่พนักงานทุกคนนั้นเป็นผู้กำกับเองว่าจะทำอะไร อย่างไร โดยไม่มีผู้จัดการหรือหัวหน้ามาคอยบอกว่าพวกเขาต้องทำอะไร   “เมื่อหลุดจากกรอบการทำตามหน้าที่ หรือคำสั่งแล้ว ก็จะเหลือแต่ว่าอยากทำอะไร ยังไง”
 
     ฟังดูเหมือนบ้าไปแล้ว ถึงแม้บริษัทนี้อาจจะไม่รู้จักคำว่า Omotenashi แต่กลับรู้สึกว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาเจ้านี้ ได้ผลักดัน Staff ของเค้าให้เข้าสู่หัวใจการบริการแบบนี้เต็มตัวและบริษัทนี้ก็เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ customer service ที่ดีสุดๆ ของอเมริกาถ้าใครอยากเอาจะให้งานหรือบริการตัวเอง ติดตรา ตรึงใจ และเกี่ยวหัวใจลูกค้าไว้ได้

 
เจ้าของกิจการอาจจะต้องลอง “ลดใช้สมอง” และ “ลองใช้หัวใจ” สัมผัสดูว่าลูกค้าอยากได้อะไร
 
สวัสดีปีใหม่ค่ะ ^__^

บทความจาก 


 
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Team

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles