[article] โรคตาขี้เกียจรักษาช้าเสี่ยงตาบอด

 
 
 
 ระวัง !! "โรคตาขี้เกียจ"
สร้างปัญหาในการมองเห็นภาพต่าง ๆ มัวกว่าดวงตาข้างที่เป็นปกติ
หากไม่รีบรักษาอาจถึงขั้นตาบอด

 
       โดยปกติแล้วมนุษย์เราจะมีการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการทางด้านต่างๆ ตามปกติ “ดวงตา” ก็เช่นกัน จะมีการพัฒนาความสามารถในการมองเห็นโดยเริ่มตั้งแต่แรกเกิด

       แต่หากมีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตาและทำให้ดวงตาทั้งสองหรือข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ จะทำให้ดวงตาข้างที่ใช้น้อยนั้นมีพัฒนาการในการมองเห็นไม่เต็มที่ เพราะไม่ได้รับการกระตุ้น สมองจะสั่งการให้ตาข้างที่ไม่ชัดมองเห็นภาพไม่ชัดเจนเช่นนั้นตลอดไป โดยสมองจะจดจำว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพที่ชัดที่สุดที่สามารถมองเห็นได้แล้ว 

       โรคสายตาขี้เกียจ ( Lazy eye หรือ Amblyopia) เป็นอาการของการมองเห็นภาพที่ลดลง ผลจากความผิดปกติของการพัฒนาการของ การมองเห็นในทารก หรือช่วงวัยเด็ก สายตาขี้เกียจเกิดจากการขนส่งกระแสรับภาพระหว่างตาและสมองทำงานไม่เต็มที่ ทำให้สมองรับภาพจากตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง หรือสมองเพิกเฉยต่อการรับภาพของตาข้างที่ด้อยกว่า ทำให้การมองเห็นตาข้างนั้นลดลง 

      สายตาขี้เกียจมักเกิดในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6-7 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะทำให้ตามัว การมองเห็นลดลงอย่างถาวร
 

ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือ...
ดวงตาข้างนั้นอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

 

สาเหตุของ "โรคตาขี้เกียจ"
 

ตาเขหรือตาเหล่ - สาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดโรคตาขี้เกียจ เพราะผู้ป่วยที่มีอาการเหล่จะไม่สามารถใช้การมองแบบคนปกติได้ เนื่องจากต้องเลือกใช้ดวงตาเพียงข้างเดียวในการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่งผลให้ดวงตาอีกข้างไม่ได้รับการใช้งานและเข้าสู่ภาวะตาขี้เกียจในที่สุด
 

อาการสายตาสั้น ยาว หรือเอียง ของดวงตาสองข้างที่ไม่เท่ากัน - เมื่อเราใช้การมองด้วยดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หมายความว่าดวงตาอีกข้างที่มีระยะการมองเห็นต่างกันจะไม่ได้ถูกใช้งาน และส่งแผลให้เป็นโรคตาขี้เกียจได้ในที่สุด








การมีค่าสายตาที่ผิดปกติมากทั้งสองข้าง - การที่สายตาทั้งสองข้างมีความผิดปกติ ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง และอาจนำมาซึ่งการเป็นตาขี้เกียจทั้งสองข้างได้
 

การเป็นโรคที่บดบังการมองเห็น - ไม่ว่าจะเป็นโรคกระจกตาดำขุ่น ต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หรือโรคสายตาชนิดอื่นๆ ที่มีผลทำให้การมองเห็นไม่ชัด และนำมาซึ่งการเป็นโรคตาขี้เกียจได้


อาการของตาขี้เกียจ 
       อาการของ "โรคตาขี้เกียจ" นั้นจะไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติในดวงตาได้ แต่จะเห็นได้จากพฤติกรรม ผู้ที่เป็นจะใช้สายตาเพ่งมองมากกว่าปกติ หรืออาจจะมองไม่ค่อยเห็นในที่มืด เนื่องจากดวงตา จะมีการพัฒนาความสามารถในการมองเห็น โดยเริ่มตั้งแต่แรกเกิด


แต่หากมีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตา และทำให้ดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ จะไม่ได้รับการกระตุ้น สมองจะสั่งการให้ตาข้างที่ไม่ชัด มองเห็นภาพไม่ชัดเช่นนั้นตลอดไป เพราะสมองจะจดจำว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพที่ชัดที่สุดที่สามารถมองเห็นได้ค่ะ ทั้งนี้อาการของตาขี้เกียจจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก

หากไม่ได้รับการ แก้ไขหรือรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อาจสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร วิธีการป้องกันจึงแนะนำให้ตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนอายุ 7 ปี 
 

วิธีการรักษา สามารถรักษาตามอาการได้ดังนี้ 



ผ่าตัด - 
ในรายที่มีความผิดปกติที่เกิดจากมีสิ่งบดบังดวงตา เช่น ต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หรือหนังตาตก 

กระตุ้นการใช้งานข้างที่มีอาการตาขี้เกียจด้วยตนเอง - เป็นวิธีที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยกระตุ้นการใช้งานดวงตา ปิดตาข้างที่ดี และใช้เพียงข้างที่มีอาการตาขี้เกียจ ก็ช่วยได้เช่น กัน โรคตาขี้เกียจเราสามารถรับมือได้ หากได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มากขึ้น จะได้รู้เท่าทันและสามารถดูแลรักษาไม่ให้อาการหนักขึ้นกว่าเดิมได้

สวมแว่น หรือใส่คอนแทคเลนส์ - เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในการมองเห็นได้ 

 
       

เมื่อไหร่ต้องมาพบแพทย์ ?

       ปกติในเด็กเล็กแพทย์จะตรวจการมองเห็นและดูการตอบสนองของเด็กเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจร่างกายทั่วไป หากแพทย์ หรือผู้ปกครองสงสัย ว่าเด็กมีสายตาขี้เกียจ สามารถปรึกษาจักษุแพทย์ ได้ทันที และสำหรับเด็กทั่วไปแนะนำให้มาตรวจตาอย่างละเอียดครั้งแรก เมื่อมีอายุระหว่างอายุ 3-5 ปี
 

       ความสำเร็จของการรักษาสายตาขี้เกียจนั้น ความสำคัญขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ปกครองเป็นหลัก ตั้งแต่สังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของลูก และรวมทั้งการฝึกพัฒนาการมองเห็นโดยการปิดตา ซึ่งต้องทำอย่างสม่ำเสมอ คอยให้กำลังใจและพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

 



 
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles