[article] โรคหอบหืด " อันตรายที่คาดไม่ถึง

 
 
 
      ปัจจุบันมีคนป่วยเป็นโรคหอบหืดมาก... และถูกคร่าชีวิตไปหลายรายต่อวัน ซึ่งในหลายประเทศกำลังหาทางป้องกันและวิธีการรักษาให้หายขาด โดยส่วนใหญ่ประชากรที่เป็นโรคหอบหืดมากก็คือเด็ก วันนี้เดี๋ยวมาทำความรู้จักกับโรคหอบหืดให้มากขึ้น

     
โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียก "หอบหืด" เป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายมากกว่าคนปกติ เกิดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ด อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง หายใจไม่อิ่ม มีอาการไอ เจ็บหน้าอก

 
      โรคหืดเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เช่น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาช้า (ในเด็ก) ผู้ป่วยเรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือเล่นกีฬาได้อย่างเต็มที่ ยิ่งสภาพอากาศเกิดการแปรปรวน มลภาวะเป็นพิษมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้ป่วยยิ่งได้รับผลกระทบในการดำเนินชีวิตมากขึ้นและส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้
 
       
อาการหอบหืด สังเกตได้จากอะไร

       อาการหอบหืดมีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน จำแนกได้ตามระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งมีตั้งแต่อาการหอบหืดไม่รุนแรง ปานกลาง และหนัก โดยสังเกตได้จากอาการเบื้องต้นดังนี้

       
1.มีอาการไอ มีปัญหาเรื่องการหายใจ ผู้ป่วยหายใจสั้น หายใจลำบาก หรือหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจแล้วมีเสียงวี้ด ซึ่งสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่าง
       2.แน่นหน้าอก มีอาการเจ็บหน้าอก หรือมีอาการแน่นหน้าอก มักจะมาพร้อมกับอาการเหนื่อยหอบ
       3.มีปัญหาในการนอนหลับ โดยปัญหามาจากการหายใจลำบาก หรือการหายใจติดขัด ส่งผลให้หลับไม่สนิท หรือหลับไม่เต็มอิ่ม
       4.หายใจมีเสียงหวีด
       5.หายใจสั้นและลำบาก


       อาการหอบหืดดังกล่าวมักจะเป็นๆหาย ๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการหอบไอจะค่อนข้างหนักในตอนเช้า เวลาวิ่งเล่น ออกแรงมาก ๆ และตอนกลางคืน หรือในช่วงที่สัมผัสกับสิ่งที่แพ้หรือระคายเคือง 

 
       สาเหตุของหอบหืด

       หอบหืดคืออาการที่หลอดลมของผู้เป็นโรคหอบหืดมีความไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น (STIMULI) สิ่งกระตุ้นที่ส่งเสริมให้เกิดอาการหอบหืด ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร สารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ มลพิษในอากาศ กลิ่น ควัน การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความโกรธ ความกลับ ความดีใจ การออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของอากาศ

       การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ ยา เช่น ยาแอสไพริน ยาลดคามดันบางกลุ่ม อาหาร เช่น
อาหารทะเล ถั่ว ไข่ นม ปลา สารผสมในอาหาร เป็นต้น

 
       การรักษาโรคหืดในผู้ป่วยที่มีอาการจับหืดบ่อย

       จะรักษาด้วยการลดความรุนแรงของโรคด้วยการใช้ยาที่เหมาะสมกับอาการ โดยมีทั้งยาเพื่อลดอาการที่เกิดโดยเฉียบพลันและช่วยควบคุมอาการในระยะยาว ยาที่ใช้รักษาหอบหืด จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.ยาที่ใช้ควบคุมโรคหืด (Controllers)

       ต้องใช้เป็นประจำเพื่อการรักษาอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ยาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด (Inhaled Corticosteroid) และยังมียากลุ่มอื่น ๆ ที่สามารถใช้ได้ เช่น
ยาต้านลิวโคไทรอีน (Leukotriene Modifier Antagonist) เป็นต้น

2.ยาที่ใช้บรรเทาอาการโรคหืด (Relievers)

       ยาบรรเทาอาการใช้เมื่อมีอาการ
หอบ แน่นหน้าอก ไอ หายใจเสียงดังหวีด ผู้ป่วยควรได้รับยากลุ่มที่ควบคุมโรคในระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการหอบ
 

 
       ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืด

       โดยทั่วไปแล้วโรคหอบหืดจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงและเรื้อรัง อาจจะมีแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้เป็นไซนัสอักเสบ หรือบางรายถึงกับเป็นเนื้องอกในโพรงจมูกอาการแทรกซ้อนและผลกระทบอื่น ๆ เช่น การได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคหอบหืดเป็นเวลานาน หรือหลอดลมตีบแคบลงอย่างถาวร ทำให้มีปัญหาในการหายใจ และเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ ตามมา
   
       การได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
 

 
       วิธีป้องกัน 

1. เด็กควรกินปลาที่มีไขมันมากเป็นประจำ เช่น ปลาค็อด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด 
2. รับประทานอาหารที่มี แมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน 
3. ค้นหาว่าแพ้อะไร และพยายามหลีกเลี่ยง 
4. งดอาหารที่กระตุ้นอาการหอบหืด ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาหารที่ใส่สารกันบูดเช่น เบนโซเอท ซัลไฟท์ 
5. งดอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์ เช่น tartrazine , brilliant blue 
6. งดนมวัว ธัญพืช ไข่ ปลา ถั่วลิสง 
7. รับประทานยาและออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ

 
         โรคหอบหืดหากเราศึกษาความเป็นมาของโรคและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง
เราก็จะสามารถอยู่กับมันได้แบบมีความสุข ที่สำคัญควรดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีเพื่ออายุที่ยืนยาวต่อไป
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles