[article] ฟังเพลง บรรเลงสุขภาพ

 
 
 

ฟังเพลง บรรเลงสุขภาพ 



       ในร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำมากถึง 3 ใน 4 ดังนั้นหลายทฤษฎีทางการแพทย์จึงให้ความสำคัญในการกระตุ้น รักษาสมดุลการทำงานของน้ำในระดับโมเลกุล หนึ่งในนั้นคือการเชื่อว่า 'ถ้าสามารถทำให้โมเลกุลน้ำมีการเรียงตัวกันอย่างสมบูรณ์ในลักษณะผลึกหกเหลี่ยม จะทำให้การนำพาอาหารเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ เป็นไปอย่างทรงประสิทธิภาพ และทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากสาเหตุโรคภัย เครื่องมือสำคัญที่ราคาถูกและให้ผลทั้งในแง่อารมณ์ควบคู่ไปกับกายภาพคือ การใช้เสียงดนตรี และนี่คือเคล็ดลับ และหลักการที่คุณควรรู้และเริ่มทำ


       "คลื่นเสียง" มีอิทธิพลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในร่างกายมนุษย์ อวัยวะใดที่มีคลื่นความถี่ต่ำก็มักเกิดการสะสมของสารพิษได้ง่าย ดังนั้น การฟังดนตรีที่เหมาะสมจึงช่วยกระตุ้นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ทำงาน สมดุล สม่ำเสมอ จังหวะและเสียงดนตรีจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจและสมองของคนเราอย่างมาก การรับฟังดนตรีที่มีความไพเราะอยู่เสมอ จะทำให้สมองหลั่ง สารแห่งความสุข ช่วยลดความตึงเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิ มีจิตใจสงบ ระบบหัวใจ ระบบขับถ่าย ระบบหายใจทำงานได้ดี ความดันโลหิตเป็นปกติ ทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรค รอดพ้นจากความเจ็บป่วย

 
นักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบว่าหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตั้งฟังเพลงประเภทเหล่านี้...

- การทำงานประเภทท่องจำ ท่องบทต่าง ๆ ควรฟังดนตรีประเภทเขย่าครึกโครม หรือดนตรีระบบใหม่ ๆ เช่น แนวเพลงป๊อป ร็อค แร็พ ควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้สมองสามารถจำได้ง่ายและเร็วขึ้น
- การทำงานเขียนบทความ นิยาย แถลงการณ์ ควรฟังดนตรีแนวคลาสสิก ที่มีสำเนียงเยือกเย็นคลอในระหว่างทำงาน จะเพิ่มจินตนาการและสมาธิ
- การทำงานสำหรับงานคิดคำนวณ งานบัญชี งานรวบรวมเอกสาร หรือวัตถุดิบ ควรฟังเพลงพวกเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน กีต้าร์ ที่ช่วยกระตุ้นระบบสัมผัส

       การวิจัยมากมายยืนยันว่า... "ความสัมพันธ์ของคลื่นเสียงมีอิทธิพลต่อน้ำในร่างกาย มนุษย์ หากผลึกน้ำในร่างกายมีรูปทรงหกเหลี่ยมอันเกิดจากการได้รับฟังเสียงที่ไพเราะ ก็จะสามารถแทรกซึมผ่านผนังเซลล์เพื่อแลกเปลี่ยนสารอาหารและชำระล้างของเสีย ออกจากร่างกายได้ ขณะที่การรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นโทรศัพท์ หรือเสียงดนตรีแนว Heavy Metal รวมทั้งมลภาวะทางเสียงทั้งหลาย กลับทำให้ผลึกน้ำในร่างกายแปรเปลี่ยนรูปทรงเป็นผลึกที่ ไม่สวยงามและไม่มีคุณภาพ เช่น เป็นทรงกลม หรือเป็นรูปทรงผลึกที่กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ที่ด้อยลง "

 

       นักดนตรีบำบัดยืนยันว่า... "ดนตรีสามารถเบี่ยงเบนความสนใจหรือความหมกมุ่นในใจของคน เราให้หันเหออกไปจากจุดเดิมที่เป็นอยู่ การฟังเพลงเวลาเครียดจะรู้สึกสบายขึ้นเพราะสมองถูกเบี่ยงเบนและได้รับวงจร ใหม่" ในต่างประเทศจึงมีการใช้ดนตรีกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดเพื่อลดอาการเจ็บปวด ความวิตกกังวล ส่วนประเทศไทยมีการใช้ดนตรีกับกายภาพบำบัด โรคเครียด ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ วัยรุ่นที่มีความก้าวร้าว เป็นโรคจิตซึมเศร้า ดนตรีจึงมีความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ ระบบประสาท และภูมิคุ้มกันโรค


       การอยู่ท่ามกลางเสียงดนตรีเบา ๆ เราจะสัมผัสถึงความรู้สึกที่ชุ่มชื่น และอารมณ์ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะสมดุล เพลงใดที่ฟังแล้วรู้สึกเข้าถึงอารมณ์ แสดงว่าเพลงนั้นมีระดับความเร็ว (Tempo) เท่ากับจังหวะชีพจร ซึ่งระดับความเร็วนี้ก็เป็นตัวช่วยสร้างอารมณ์ให้แก่ผู้ฟังด้วย ดนตรีจังหวะเร็วๆ อาจทำให้ รู้สึก เหนื่อย แต่หากจังหวะยิ่งช้าก็จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

       การเริ่มหาจังหวะของตัวเอง ควรเริ่มต้นที่จังหวะของดนตรีซึ่งช่วยให้ร่างกายกระฉับกระเฉง บรรเทาอาการหงอย เฉื่อยชา เกียจคร้าน บางจังหวะบางบทเพลงอาจช่วยให้ค้นพบอารมณ์ของตัวเอง และยกระดับความรู้สึกให้ดีขึ้นช่วยสยบความวิตกกังวลและความเครียดทำให้มี สมาธิ มีสติปัญญาแจ่มใสขึ้น รวมทั้งช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และความไวของความรู้สึก



       มนุษย์คุ้นเคยกับเสียงดนตรีมาก่อนถือกำเนิด เราได้ยินเสียงดนตรีธรรมชาติจากหลายทาง ตั้งแต่จังหวะการเต้นของชีพจร หัวใจที่สัมผัสได้จากท้องแม่ ลมหายใจ การก้าวย่าง ฤดูกาล น้ำขึ้นน้ำลง ล้วนเป็นจังหวะในชีวิตและธรรมชาติ นี่คือส่วนหนึ่งของความสมดุลในชีวิต จึงนับเป็นไอเดียที่ดี ถ้าในวันไหนหรือช่วงเวลาใดที่เรารู้สึกอ่อนไหว อ่อนเพลีย หรือขาดแรงกระตุ้น จะลองหันมาใช้ชีวิตในเสียงดนตรีมากขึ้น เพราะมันคือการกลับสู่พลังงานต้นกำเนิด 



 


 

*********
สนใจติดตามข้อมูล อ่านต่อได้ที่ 
https://www.facebook.com/Pantae.fan

 
 
อ้างอิงจาก : bloggang
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles