[article] หนีเที่ยว หน้าร้อน พร้อมชม ราชพฤกษ์ กับเรื่องราวกว่าจะเป็นดอกไม้งามประจำชาติไทย

 
 
 
“ดอกราชพฤกษ์”
...
กว่าจะเป็นดอกไม้ งามประจำชาติไทย
       อย่างที่ทราบกันดีนะว่าดอกไม้ประจำชาติของเรานั้นคือ “ดอกราชพฤกษ์” หรือ
  • ดอกคูณ
  • ดอกลมแล้ง (ชื่อทางภาคเหนือ)
  • ดอกลักเกลือ,ลักเคย (ชื่อทางภาคใต้) ส่วนชื่อราชพฤกษ์นั้น ก็แปลได้ว่าต้นไม้ของราชา
       ซึ่งต้นไม้ชนิดนี้เรามักจะเห็นชินตาสองข้างทางตามถนนสายต่างๆ ยิ่งในช่วงที่ออกดอกเหลืองสะพรั่งยิ่งเพิ่มความสวยงามให้กับถนนหนทางเป็นอย่างมากทีเดียว เราอาจจะมองว่าราชพฤกษ์นั้นเป็นต้นไม้ใหญ่ปลูกเพื่อความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียว
 

 
       แต่จริงๆ แล้วต้นไม้ชนิดนี้มีสรรพคุณมากมาย เช่น...
  • ใช้รักษาท้องร่วง
  • ใช้เป็นยาระบาย
  • ใช้รักษาแผล แผลติดเชื้อ แผลในปาก และรักษาสุขภาพฟัน  แต่รู้หรือไม่ว่าดอกคูนนั้นเพิ่งได้รับการยกให้เป็นดอกไม้ประจำชาติอย่างจริงจังเมื่อไม่นานนี้เอง
         จากการตรวจค้นที่มาที่ไปของต้นไม้ชนิดนี้ ทำให้ทราบว่า ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้พื้นเมืองของทางฝากเอเชียใต้ ไล่ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย พม่า จนมาถึง ศรีลังกา ซึ่งจะนิยมปลูกกันมากในเขตร้อน และแน่นอนบ้านเราก็ร้อนจนต้นไม้ต่างถิ่นชนิดนี้สามารถเติบโตได้ดี
 

 
       ซึ่งต้นราชพฤกษ์ยังเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งอีกด้วยทำให้เหมาะเหลือเกินที่จะนำมาปลูกไว้ข้างทางหรือตามถนนสายหลัก ซึ่งสัดส่วนของต้นราชพฤกษ์ถือว่าไม่ใช่ต้นไม้ใหญ่มาก

* จัดอยู่จำพวกขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร
* ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอร่าม แต่ละช่อยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร
* ช่อไหนขนาดใหญ่ๆ จะเห็นแจ่มมาแต่ไกล สวยสุดๆ โดยกลีบดอกจะมี 5 กลีบ
* ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นผลของต้นราชพฤกษ์ที่ยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ใครอย่าริลองไปเก็บผลมากินกันละเตือนไว้ก่อนเพราะมันมีพิษ หากได้ดมจะรู้ว่าเป็นดอกที่มีกลิ่นฉุนอารมณ์ประมาณสวยแต่รูปจูบไม่หอม

 

 
พ.ศ. 2495 จุดเริ่มของดอกไม้ประจำชาติ
       ความเป็นมาเป็นกว่าจะเป็นดอกไม้ประจำชาติของเราในปี 2495 กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์ เพราะด้วยความสวยงามและประโยชน์ของมัน ซึ่งในปีนี้เองทางรัฐบาลได้ตั้งให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พร้อมกับมีการเสนอให้ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจำชาติ
 

 
พ.ศ.2506  ต้นราชพฤกษ์สัญลักษณ์ชาติ  
       ในปีดังกล่าวมีการประชุมเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ต้นไม้และสัตว์ประจำชาติเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยกรมป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูณไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ

 
 
       สำหรับสัตว์ประจำชาติก็คือ ช้างเผือก สัตว์ที่มีคุณค่าเกี่ยวข้องกับประเพณีไทยและประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน การเสนอครั้งนั้นไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงมีหลากหลาย
       ตั้งแต่สถานที่สำคัญๆ  สัตว์ ดอกไม้ ที่คนไทยคุ้นเคยและพบเห็นบ่อย เช่น
  • พระปรางค์วัดอรุณฯ
  • เรือสุพรรณหงส์
  • ดอกบัว
  • ดอกมะลิ
  • ดอกพุทธรักษา
  • แมวไทย เช่นเดียวกับ ต้นราชพฤกษ์ และ ช้างเผือก ยังคงถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติตลอดมา

 
พ.ศ.2530 ความงดงามเริ่มผลิบาน
       ถัดจากนั้นมากกว่า 10 ปี คนไทยต่างรู้กันบ้างว่า ต้นราชพฤกษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ชาติในฝากของด้านธรรมชาติ แต่ทว่าในปีนี้  พ.ศ.2530 ยิ่งตอกย้ำถึงความชัดเจนของต้น ต้นราชพฤกษ์ยิ่งขึ้นว่ามีความสำคัญต่อชาติ ด้วยรัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์อีกครั้ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
       เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศจำนวน 99,999 ต้น ซึ่งแน่นอนว่านี้คือการปลูกต้นราชพฤกษ์ครั้งยิ่งใหญ่เพื่อถวายพ่อหลวงซึ่งทราบกันดีว่าดอกราชพฤกษ์มีสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำพระองค์
       ทำให้ทุกวันนี้จึงมีต้นราชพฤกษ์อยู่มากมายทั่วประเทศไทย และนั่นเองเป็นเหตุผลให้ในอีกหลายปีต่อมา ดอกราชพฤกษ์จึงเข้ามามีบทบาทในสังคมมากกว่าในอดีต เพราะถือเป็นดอกไม้ที่มีความหมายที่ดีงาม

 

พ.ศ.2544 ถึงเวลาผลิบานเป็นดอกไม้ประจำชาติ
        เรื่องของดอกไม้ประจำชาติมาชัดเจนเมื่อกระทั่งปี พ.ศ.2544 โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาเสนอใหม่อีกครั้ง และมีข้อสรุปเสนอให้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่งคือ
  • ดอกไม้
  • สัตว์และสถาปัตยกรรม และการพิจารณาที่ผ่านมาเสนอให้กำหนดดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกราชพฤกษ์ และสัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย สุดท้ายสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ ศาลาไทย

 
       เหตุที่เลือก ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติเพราะมีความเหมาะสมในหลายๆ ด้านคือเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ทนทาน ปลูกขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อต่างกันในแต่ละภาค 

       และราชพฤกษ์ยังเป็นไม้มงคลใช้ประโยชน์ในพิธีสำคัญๆ เช่น ลงหลักเมือง ลงเสาเอก ทำคฑาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร รวมทั้งเป็นสีเดียวกับวันพระราชสมภพของ รัชกาลที่ 9 ซึ่งถือว่าเป็นสีมงคลนั่นเอง.....
และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดกว่าจะเป็นดอกไม้งามประจำชาติไทยของเรา

*********
สนใจติดตามข้อมูล อ่านต่อได้ที่ 
https://www.facebook.com/Pantae.fan

กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ
Post by : Pantae Reporter
บทความโดยทีมงาน พันธุ์แท้.com

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles